วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2560

สื่อการเรียนรู้ สาขาวิชาช่างยนต์

             จัดทำขึ้นเพื่อให้ได้ศึกษาการทำงานของเครื่องยนต์เบื้องต้น หรือการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ จักรยานยนต์ อื่นๆ ซึ่งบางอย่างเราสามารถเปลี่ยนเองหรือทำเองได้ โดยไม่ต้องเข้าร้าน และประหยัดค่าใช้จ่าย หรือเพื่อไม่ให้ตัวเราเองโดนหรอกจากช่างที่ไม่มีจรรยาบรรณ




เครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ
                เครื่องยนต์แก๊สโซลีน (Gasoline Engine หรือ Petrol Engine) เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine หรือ ICE) ชนิดหนึ่งที่มีการทำงานตามกลวัตรอ๊อตโต้ (Otto Cycle) ประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1876 ซึ่งเป็นเครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยประกายไฟ (Spark-Ignition Engine) (ต้องใช้หัวเทียน) มีการสันดาปหรือการเผาไหม้ใช้เชื้อเพลิงเหลวได้หลายชนิดเช่นน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ เอทานอล และยังสามารถใช้เชื้อเพลิงแก๊สได้เช่น LPG และ CNG (NGV) ซึ่งจะเรียกโดยรวมว่าเป็นเครื่องยนต์แก๊สโซลีน (Gasoline Engine) ทั่วไปจะมีอัตราส่วนการอัด (Compression Ratio หรือ CR) ประมาณ 9 - 11.5 : 1 เช่นเครื่องยนต์ออดี (AUDI) รุ่น ลิ้นต่อ 1 สูบ มีค่า CR 11.5 : 1  แต่ถ้ามีตัวอัดบรรจุอากาศเทอร์โบ (Turbocharger) จะต้องลดค่าอัตราส่วนการอัดให้ต่ำลง  มีความดันในจังหวะอัด 10  15 บาร์ (bar) (10.19 – 15.29 kgf/cm2ทำให้อุณหภูมิอากาศที่อัดตัวเป็น 400  600 o ซ.  แต่เดิมนั้นเครื่องยนต์แก๊สโซลีนใช้คาร์บูเรเตอร์ (Carburetor) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการจัดจ่ายอัตราส่วนผสมของอากาศต่อเชื้อเพลิง ซึ่งมีสมรรถนะต่ำ และมีแก๊สพิษ (Emission) สูง ในปัจจุบันจึงไม่ผ่านกฎหมายควบคุมมลพิษ ดังนั้นในปัจจุบันเครื่องยนต์แก๊สโซลีนของรถยนต์จึงใช้ระบบฉีดเชื้อเพลิงควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ และในอนาคตรถจักรยานยนต์ทุกคันจะต้องเลิกใช้ระบบคาร์บูเรเตอร์ 
หมายเหตุ  หลักการที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นหลักการพื้นฐานเหมือนกันหมดไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยคาร์บูเรเตอร์, เครื่องยนต์ใช้แก๊ส LPG, CNG (NGV) รวมไปถึงเครื่องยนต์ระบบฉีดเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน (EFI)  (ไม่รวมเครื่องยนต์แบบโรตารี่)
                เครื่องยนต์ 4 จังหวะมีหลักการทำงานคือใน 1 กลวัตร (Cycle) ของแต่ละสูบ เพลาข้อเหวี่ยงจะหมุน 2 รอบ ต่อการจุดระเบิดให้กำลังงาน 1 ครั้ง นั่นหมายถึงลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้น-ลงรวม 4 ครั้ง (ขึ้น 2 ครั้ง และลง 2 ครั้ง) คือเพลาข้อเหวี่ยงหมุนรอบที่ 1 ลูกสูบเคลื่อนที่ลงในจังหวะดูด (Intake Stroke). ต่อมาลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นในจังหวะอัด (Compression Stroke) เพลาข้อเหวี่ยงหมุนรอบที่ ลูกสูบเคลื่อนที่ลงในจังหวะกำลัง หรือจังหวะระเบิด (Power Stroke or Expansion Stroke) สุดท้ายลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นในจังหวะคาย (Exhaust Stroke) ถ้าเครื่องยนต์มีหลายสูบ แต่ละสูบจะทำงานเวียนตามลำดับการจุดระเบิด

                เครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ มีหลักการทำงานดังต่อไปนี้

รูปที่ จังหวะดูด


คลิปที่ 1 พิจารณาเฉพาะจังหวะดูด

                จังหวะดูด (Intake Stroke) ลิ้นไอดีจะเริ่มเปิดก่อนที่ลูกสูบจะเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบน (ดังแสดงในรูปที่ 1 ในตำแหน่งที่ 1) เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงจากศูนย์ตายบน (TDC หรือ Top Dead Center) ไอดี (ส่วนผสมของอากาศกับเชื้อเพลิงจะถูกดูดเข้ากระบอกสูบ เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่เลยจากศูนย์ตายล่าง (BDC  หรือ Bottom Dead Center) ไอดีจะยังคงไหลเข้ากระบอกสูบด้วยแรงเฉื่อยจนกว่าลิ้นไอดีจะปิด (ดังแสดงในรูปที่ 1 ในตำแหน่งที่ 2) 

รูปที่ จังหวะอัด

คลิปที่ 2 พิจารณาเฉพาะจังหวะอัด

                จังหวะอัด (Compression Stroke) เมื่อลิ้นไอดีปิด (ดังแสดงในรูปที่ 2 ในตำแหน่งที่ 2) อันเป็นจุดเริ่มต้นของจังหวะอัดซึ่งลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้นไปสู่ศูนย์ตายบน จังหวะนี้ไอดีประมาณ 10 ส่วนที่ถูกดูดเข้ากระบอกสูบมาในจังหวะดูดจะถูกอัดตัวให้มีปริมาตรเล็กลงเหลือประมาณ 1 ส่วน ดังนั้นไอดีซึ่งเป็นส่วนผสมของอากาศกับเชื้อเพลิงจึงมีความดันและอุณหภูมิที่สูงขึ้นพร้อมสำหรับการสันดาป
                หมายเหตุ  ช่วงปลายของจังหวะอัดคือก่อนที่ลูกสูบจะเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบน (ดังแสดงในรูปที่ 2 ในตำแหน่งที่ 3) หัวเทียนจะเกิดประกายไฟขึ้น โดยที่หัวเทียนจะเกิดประกายไฟก่อนที่หัวลูกสูบจะเคลื่อนถึงศูนย์ตายบนกี่องศานั้นขึ้นอยู่กับความเร็วรอบ, อุณหภูมิและภาระของเครื่องยนต์ ซึ่งเรียกว่าไฟแก่หรือการจุดระเบิดล่วงหน้าหรือ Spark Advance
                คลิกเพื่ออ่านเรื่องระบบจุดระเบิด

รูปที่ 3 จังหวะกำลัง


คลิปที่ 4 พิจารณาเฉพาะจังหวะกำลัง

                จังหวะกำลัง (Power Stroke) (ซึ่งเริ่มนับจากหัวลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายบน) หรือบางครั้งเรียกว่า จังหวะระเบิด (Expansion Stroke) (ซึ่งเริ่มนับจากหัวเทียนเกิดประกายไฟ) กำลังจากการระเบิดหรือการสันดาป (Combustion) ภายในห้องเผาไหม้จะผลักดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลงมาเป็นกำลังงานขับเคลื่อนของเครื่องยนต์ ในจังหวะนี้จะไปสิ้นสุดจนกว่าลิ้นไอเสียจะเปิด (ดังแสดงในรูปที่ 3 ในตำแหน่งที่ 5)
                หมายเหตุ  ในความเป็นจริงแล้วการจุดระเบิดถูกเริ่มต้นก่อนที่หัวลูกสูบจะถึงศูนย์ตายบนแล้วมาระเบิดรุนแรงที่สุดในช่วงที่หัวลูกสูบเคลื่อนที่เลยจากศูนย์ตายบนมาแล้วเล็กน้อย (ดังแสดงในรูปที่ 5)

รูปที่ จังหวะคาย


ตลิปที่ 4 พิจารณาเฉพาะจังหวะคาย

                จังหวะคาย (Exhaust Stroke) จังหวะนี้เริ่มต้นจากลิ้นไอเสียจะเริ่มเปิดก่อนที่ลูกสูบจะเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายล่าง (ดังแสดงในรูปที่ 4 ในตำแหน่งที่ 5) แก๊สไอเสียซึ่งยังมีความดันจากการขยายตัวอยู่จะระบายออกทางลิ้นไอเสีย เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่เลยจากศูนย์ตายล่าง (BDC) จะผลักดันให้ไอเสียไหลออกไปจากกระบอกสูบ
                หมายเหตุ  ขณะที่หัวลูกสูบเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบนนั้น ลิ้นไอเสียยังไม่ปิดสนิทแต่จะเปิดเล็กน้อยแล้วไปปิดเมื่อเลยจากศูนย์ตายบนไปเล็กน้อย (ดังแสดงในรูปที่ 4 ในตำแหน่งที่ 6) ซึ่งในช่วงนี้ไอเสียจะสามารถไหลออกจากกระบอกสูบด้วยแรงเฉื่อย และขณะเดียวกันนี้จะเกิดแรงดูดไอดีให้เริ่มเข้ากระบอกสูบ ช่วงที่ลิ้นไอเสียเริ่มปิด และไอดีเริ่มเปิดนี้เรียกว่าซ้อนเหลื่อม (Overlap)  
คลิปที่ 5 เครื่องยนต์แก๊สโซลีน 4 จังหวะ (รวมการทำงานครบทั้ง 4 จังหวะ)

ที่มา https://vallop-automechanics.blogspot.com/2012/05/4.html

-วีดีโออธิบายหลักการทำงานของเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ



-การงัดยาง เพื่อเปลียนหรือปะยาง
     เป็นพื้นฐานสำหรับช่างยนต์ทุกคนจำเป็นและต้องใช้ในการออกฝึกงาน หรือทำรถตัวเอง ซึ้งทุกคนต้องฝึกและทำให้ได้ ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=bBsKIkLDnDk




-วิธีปะยางในให้แน่นสนิท ไม่ร่อนเวลาใช้งาน





-วิธีลบโค็ต รหัสข้อขัดข้อง+รีเซ๊ตกล่อง ECM Honda Wave 110 i PGM FI v.3
ทำแล้วเห็นผลชัดเจน
     ในรถรุ่นใหม่ๆ ที่เป็นระบบหัวฉีด จะมีกล่อง ecm เข้ามาควบคุมการจ่ายนำมัน ซึ้งเมื่อเกิดปัญหาหรือมีปัญหาในระบบ ต่างๆ ก็จะสามารถเช็ค เป็นตรวจสอบได้โดยดูไฟกระพริบ และเปลี่ยนอุปกรณ์ที่มีปัญหา แล้วต้องมีการลบโค็ตเดิมออก เพราะกล่องยังจำค่าเดิมที่มีปัญหาไว้อยู่        
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=nVpc9rlAzVE




-วิธีเช๊คคอล์ยหัวเทียน-เปลี่ยนคอล์ยหัวเทียน CELA NOVA TENA
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=Df3oO-fcIXo



-การตั้งโซ่รถจักรยานยนต์




-เปลี่ยนหลอดไฟหน้า WAVE 110 i แบบไม่ต้องรื้อเยอะ
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=DuHWLNaEAyU




-เปลี่ยนหลอดไฟท้าย WAVE 110 i
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=jDwDuAASGM8






เครื่องมือซ่อมและบริการงานช่างยนต์




       

             ในการผลิตประแจที่มีคุณภาพ ส่วนใหญ่จะทำมาจากเหล็กกล้าและขึ้นรูปด้วยวิธีการตีขึ้นรูป แต่ประแจที่นำมาใช้งานที่ดีที่สุดนั้น จะทำมาจากเหล็กกล้าผสมโครเมียมและวานาเนียมและจะขึ้นรูปด้วยวิธีการตีขึ้นรูปเช่นเดียวกับแบบแรก คราวนี้เรามาทำความรู้จักประแจชนิดต่างๆ กันเลยครับ 

                   1) ประแจปากตาย (Fixed Wrench)  ประแจชนิดนี้ทำมาจากเหล็กเพียงชิ้นเดียว และที่ปลายทั้งสองด้าน จะมีขนาดคงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยประแจปากตายยังสามารถแบ่งออกเป็นอีกหลายชนิดได้แก่             

           (1.1) ประแจแหวน (Box Wrench) ลักษณะเด่นอยู่ที่ปลายทั้งสองด้าน มีลักษณะเป็นแหวนวงกลม ภายในวงแหวนจะมีเขี้ยวประมาณ 6-12 เขี้ยว เพื่อใช้ในการจับเหลี่ยมแป้นเกลียวและสลักเกลียวได้อย่างมั่นคง         

             (1.2) ประแจปากตายปากคู่ (Open-end Wrench) ปลายทั้งสองด้านมีลักษณะเป็นรูปตัวยู (U) ซึ่งจะมีขนาดที่ไม่เ่ท่ากัน ประแจชนิดนี้เหมาะกับงานในที่แคบมากที่สุด ในการใช้งานจะต้องระวังอย่าขันแน่นมากเกินไป เพราะจะทำให้สลักเกลียวชำรุดเสียหายได้                

             (1.3) ประแจรวม (Combination Wrench) ประแจชนิดนี้ได้รวมเอาประแจแหวนกับประแจปากตายปากคู่เข้าไว้ด้วยกัน โดยที่ด้านหนึ่งมีลักษณะเหมือนกับประแจแหวน ส่วนอีกด้านจะเหมือนกับประแจปากตายปากคู่ ทำให้วสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย ขนาดของหัวประแจจะมีขนาดที่เท่ากันทั้งสองด้าน                

            (1.4) ประแจกระบอก (Socket Wrench) ประแจชนิดนี้สามารถนำไปใช้งานได้เหมือนกับประแจแหวน แต่ลักษณะที่แตกต่างกันจะอยู่ตรงที่ตัวประแจจะประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือด้ามประแจ (Cheater Bar) และหัวประแจ (Socket) ในส่วนของด้ามประแจนั้น ปลายด้านหนึ่งจะมีลักษณะเป็นด้ามจับ อีกด้านจะมีลักษณะเป็นหัวต่อ เพื่อนำไปต่อกับหัวประแจอีกทีหนึ่ง ลักษณะพิเศษของหัวต่อ คือสามารถหมุนได้ในทิศทางเดียว ทำให้สะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น (ภาษาช่างรุ่นเก๋ามักเรียกว่าประแจชนิดนี้ว่ากรอกแกรก ที่มาของชื่อน่าจะเป็นเพราะเสียงของมันเวลาใช้งานดังกรอกแกรก) ส่วนที่หัวประแจจะมีลักษณะเป็นบล็อกหกเหลี่ยมตามขนาดของแป้นเกลียว หัวประแจนอกจากจะมีลักษณะเป็นบล็อกแล้ว ยังมีลักษณะเป็นรูปแบบอื่นๆ อีก เช่น หัวเป็นไขควง, ประแจหกเหลี่ยม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เสริมอย่างข้อต่อประแจปรับได้ หรือบางครั้งจะเรียกว่า "ข้ออ่อน" จะทำให้สามารถทำงานได้หลายทิศทางมากยิ่งขึ้น                

            (1.5) ประแจหกเหลี่ยมหรือประแจแอล (Alen or Hex Wrench) ในการเรียกชื่อของประแจประเภทนี้สามารถเรียกได้ 3 แบบคือ หากเป็นแบบอเมริกันจะเรียกว่า "Hex Wrench" หรือ "Allen Wrench" แต่ถ้าเป็นอังกฤษจะเรียกว่า "Allen Key" ลักษณะภายนอกของประแจประเภทนี้ก็คือ มีลักษณะเป็นตัวแอล (L) โดยลำตัวมีลักษณะเป็นหกเหลี่ยม ประแจประเภทนี้จะถูกนำไปใช้ในการขันนอตที่มีหัวเป็นหลุมหกเหลี่ยมหรือสลักเกลี่ยวที่ทำเป็นหัวกลม ส่วนกลางทำเป็นรูหกเหลี่ยม ซึ่งใช้สำหรับงานที่มีความพิเศษ เช่น สลักเกลียวปรับชิ้นงาน เป็นต้น ข้อควรระวังในการใช้งานคือ ความพอดีของแรงที่ใช้ในการขันจะต้องไม่ออกแรงมากเกินไป                


               2.ประแจเลื่อน (Adjustable Wrenches)  ประแจชนิดนี้เป็นประแจที่สามารถปรับขนาดได้ เพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของแป้นเกลียว การปรับขนาดนั้นจะปรับตรงส่วนที่เป็นสลักเกลียว ซึ่งถือได้ว่าได้ว่าเป็นข้อดีของประแจชนิดนี้ ทำให้สะดวกในการพกพาเพียงตัวเดียวก็สามารถใช้ได้เกือบทุกขนาด เมื่อเทียบกับประแจปากตายแล้วถือว่าสะดวกกว่ามาก แต่จุดด้อยของประแจเลื่อนก็คือ มีปากด้านหนึ่งที่สามารถปรับเข้าออกได้ เป็นผลให้ปากด้านนี้ไม่แข็งแรงในการใช้งานจึงต้องให้ปากประแจด้านที่ไม่เคลื่อนเป็นด้านที่รับแรงมากและปรับขนาดของปากให้แนบสนิทกับแป้นเกลียวทุกครั้ง โดยประแจเลื่อนยังมีอีกหลายชนิดเช่นเดียวกับประแจปากตายดังนี้

            (2.1) ประแจจับท่อ (Pipe Wrenches) มีทั้งแบบด้ามขาเดียวและด้าม 2 ขา ปากของประแจสามารถปรับให้มีขนาดกว้างได้ตามต้องการ ประแจชนิดนี้จะผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในการจับชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นทรงกลม เช่น ท่อน้ำ เป็นต้น จึงทำให้ปากของประแจมีฟันที่ค่อนข้างคม มีผลให้ชิ้นงานที่ถูกจับหันตามทิศทางที่ประแจหมุนไป แต่ถ้าหมุนผิดทางจะไม่สามารถจับชิ้นงานให้หมุนตามประแจได้

               (2.2)ประแจเลื่อนขนาดใหญ่ ประแจชนิดนี้จะจับแป้นเกลียวที่มีลักษณะเป็นเหลี่ยมใหญ่กว่าขนาดของประแจปากตาย วิธีปรับปากประแจก็เพียงแต่ปรับที่เขี้ยวที่อยู่บริเวณด้ามจับ ประแจชนิดนี้จะมีขนาดตั้งแต่ 9-18 นิ้ว การประยุกต์ใช้งานในลักษณะต่างๆ การใช้งานประแจให้เหมาะสมกับงานนั้นจะต้องคำนึงถึงลักษณะงานที่เราจะนำไปใช้ด้วย มิเช่นนั้นแล้วอาจจะทำให้ตัวประแจหรือชิ้นงานเกิดการเสียหายได้ เช่น การใช้งานประแจปากตายจะต้องเลือกขนาดของประแจกับขนาดของแป้นเกลียวให้พอดีกัน ถ้าใหญ่เกินไปอาจทำให้แป้นเกลียวเสียหายได้ แต่ในบางครั้งเราอาจจะนำเอาประแจไปใช้แทนเครื่องมือชนิดอื่นๆ ในยามฉุกเฉินได้เช่นกัน เช่น             

          -ในกรณีที่หัวนอตมีลักษณะที่ใช้กับไขควง แต่ไม่สามารถใช้ไขควงได้ เราก็อาจจะใช้ประแจเลื่อนแทนได้ โดยให้ทำการเลื่อยปลายของหัวนอตด้านนอกออกทั้งสองด้าน จากนั้นจึงนำประแจเลื่อนจับที่หัวนอตให้พอดี แล้วหมุนก็จะสามารถหมุนนอตออกมาได้อย่างง่ายดาย             

          -ในกรณีที่นอตขันแน่นมาก จนไม่สามารถใช้ไขควงขันด้วยวิธีปกติ เราก็สามารถนำประแจเลื่อนมาช่วยในการผ่อนแรงได้ โดยนำประแจเลื่อนจับที่ส่วนปลายที่ใช้ขันนอต โดยเลื่อนขึ้นมาจากปลายเล็กน้อย จากนั้นนำปลายไขควงกดลงบริเวณหัวนอตที่ต้องการขัน แล้วจึงจับประแจหมุนออกได้นี่ก็เป็นเพียงบางตัวอย่างในการจำประแจไปใช้งานประเภทอื่นๆ เท่านั้นนะครับ ยังมีอีกหลายวิธีที่จะนำประแจไปประยุกต์ได้อีก ก็แล้วแต่ว่าผู้ใช้งานจะมีไอเดียเพิ่มเติมในแต่ละสถานการณ์              


              3. ไขควง
                ไขควงคือ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งซึ่งออกแบบมาเพื่อขันสกรูให้แน่นหรือคลายสกรูออก ไขควงทั่วไปประกอบด้วย แท่งโลหะ ส่วนปลายใช้สำหรับยึดกับสกรู ซึ่งมีรูปร่างแตกต่างกันเพื่อให้ใช้ได้กับสกรูชนิดต่างๆ และมีแท่งสำหรับจับคล้ายทรงกระบอก อยู่อีกด้านหนึ่งสำหรับการไขด้วยมือ หรือไขควงบางชนิดอาจจะหมุนด้วยมอเตอร์ก็ได้ ไขควงทำงานโดยการส่งทอร์ก (torque) จากการหมุนไปที่ปลาย ทำให้สกรูหมุนตามเกลียวเข้าหรือออกจากวัสดุอื่น ไขควง (Screw Driver) เป็นเครื่องมือสำหรับ ขันและคลาย สกรูชนิดหัวผ่า ขนาดและรูปทรงของไขควงถูกออกแบบให้เป็นไปตามลักษณะการ ใช้งาน เช่น ไขควงที่ใช้สำหรับงานของช่างอัญมณี (Jeweler's Screw Driver)จะออกแบบมาให้เป็นไขควงที่ใช้สำหรับงานละเอียดเที่ยงตรงกับ ไขควง ที่ใช้ ในงานหนักของช่างเครื่องกลจะออกแบบให้ก้านใบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพื่อให้ใช้ประแจ หรือ คีมจับขันเพื่อเพิ่มแรงในการบิดตัวของ ไขควง ให้มากกว่าเดิมได้ไขควงประกอบด้วย ส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนคือ 1.ด้ามไขควง (Handle) 2.ก้านไขควง (Blade or Ferule) 3.ปากไขควง (Tip) ด้ามไขควง ออกแบบให้มีรูปทรงที่สามารถจับได้ถนัดมือ และสามารถบิดไขควงไป-มา ได้แรงมากที่สุด ไขควงจะทำจากวัสดุต่างๆ เช่น ไม้ พลาสติก หรือ โลหะบางชนิดตามประเภทการใช้งานปากไขควง จะทำจากเหล็กล้าเกรดดี ทรงกลมหรือสี่เหลี่ยม จัตุรัส ตีขึ้นรูปให้ลาดแบน และ ชุบแข็งด้วยความร้อน ในส่วนที่ไม่ได้ตีขึ้นรูปจะเป็นก้านไขควง ถ้าเป็นไขควงที่ใช้สำหรับงานเบาจะเป็นเหล็กกล้าทรงกลมถ้าเป็นไขควงสำหรับ ใช้งานหนักจะเป็นเหล็กกล้าทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพื่อให้สามารถใช้ประแจหรือคีมจับเพิ่มแรงบิดงานได้ก้านไขควงส่วนที่ต่อกับด้ามจะตีเป็นเหลี่ยมลาด เพื่อให้สวมได้สนิทกับด้าม เพื่อให้ด้ามจับก้านไขควงได้สนิทและไม่หมุนเมื่อใช้งานไขควง ในปัจจุบันมีการออกแบบให้ก้านไขควงทะลุตลอดด้าม ที่เป็นพลาสติก หรือไฟเบอร์และทำเป็นแท่นรับแรงสามารถใช้ค้อนเคาะตอกเพื่อการทำงานบางประเภทได้ขนาดความกว้างของปากไขควงจะมีสัดส่วน มาตรฐานสัมพันธ์กับความยาวของขนาดทั้งหมดของไขควงซึ่งเป็นข้อสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการเลือกใช้ไขควงเพราะแรงบิดที่กระทำต่อตัวสกรูจะเป็น ผลส่วนหนึ่งมาจากความยาวนี้ และอีกประการหนึ่งไขควงขนาดยาวปากไขควงจะกว้างกว่าปากไขควงขนาดสั้นความหนาของปากไขควงจะขึ้นอยู่กับ ความกว้างของปาก ปากกว้างมากก็จะยิ่งมีความหนามากขึ้น ความหนาของปากไขควงเป็นผลโดยตรงกับการออกแรงบิดตัวสกรูเพราะถ้าขนาด ของปากไขควงไม่พอดีกับร่องผ่าของหัวสกรูจะทำให้การขันพลาดทำให้หัวสกรูเยินหรือต้องสูญเสียแรงงานส่วนหนึ่งในการประคองปากไขควง ให้อยู่บนร่องหัวสกรู แทนการหมุนสกรูก่อนการนำไขควงไปใช้งาน ต้องตรวจสอบปากไขควงให้อยู่ใน สภาพพร้อมที่จะใช้งาน คือ ปากต้องเรียบ ไม่มีรอยบิด และเมื่อพิจารณาดูจากด้านล่างต้องมีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ไขควงที่ปากชำรุดสึกหรอไม่เรียบตรงหรือปากแตกร้าว เป็นอันตรายต่อ การใช้งานมากเพราะเมื่อใช้งานปากไขควงจะไม่สัมผัสกับร่องบนหัวสกรูเต็มที่ เมื่อออกแรงบิดจะทำให้พลาดจากร่องจะทำให้หัวสกรูบิ่นหรือลื่นจากหัว สกรูทำให้ผู้ขันได้รับอันตรายได้ไขควงแฉก (Phillips) หรือ ไขควงหัวลูกศร เป็นไขควงที่ออกแบบมาสำหรับใช้กับ สกรูชนิดร่องหัวผ่าไขว้กัน การออกแบบ ขนาด และการเลือกใช้งานก็เช่นเดียวกับไขควงปากแบนข้อสำคัญที่สุดคือต้องเลือกใช้ไขควงที่ปากแนบสนิทกับร่องผ่าบนหัวสกรู จึงใช้งานได้เต็มตามประสิทธิภาพของไขควงไขควงเยื้องศูนย์ (Offset Screw Driwer) เป็นไขควงที่ออกแบบมาสำหรับการงานพิเศษที่ไขควงแบบ ปกติใช้งานไม่ได้ เช่นตามซอกมุมต่างๆ ไขควงชนิดพิเศษทำปากไขควงอยู่ที่ปลายทั้งสองด้านอาจหันปากไปในตำแหน่งตามกันหรือเยื้องกันก็ได้ ส่วน ก้านใบไขควงอยู่ตรงกลางและทำหน้าที่เป็นด้ามไขควงด้วย ประเภทของไขควง วงหรือสกรูสําหรับงานโลหะแผ่น และงานการตกแต่งที่ต้องการความประณีตสวยงาม ปลายของไขควงจะสวมพอ ดีกับหัวสกร เป็นเครื่องมือที่ใช้แรงบิดสำหรับจับ ยึด ตัด สิ่งต่างๆ เช่น โลหะแผ่นบาง สายไฟฟ้า ท่อขนาดเล็ก และเส้นลวด เป็นต้น มีการนำมาใช้มากในโรงงานโลหะแผ่น งานซ่อมวิทยุ หรือ อิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์ คีมมีหลายชนิด แต่ที่สำคัญมีดังนี้ คือ คีมปากแบนหรือปากจิ้งจก (Flat Nose Pliers) คีมปากขยาย (Slip Joint Pliers) คีมล็อค (Vise Grip Pliers) คีมตัด (Cutting Pliers) และคีมตัดปากทแยง (Diagonal Cutting Pliers or Side cutters) เป็นต้น

                1. ไขควงปากแบบหรือไขควงธรรมดา (Common Screwdriver€) ปากไขควงจะมีลักษณะแบนลาดเอียงไปยังปลายสุดของไขควงทุกแบบสํ าหรับขันหรือคายสกรูหรือตะปูควงชนิดต่าง ๆ
                 2.ไขควงปากแฉก (Cross - Reset Head Screwdriver) ไขควงชนิดนี้ส่วนที่ปลายของไขควงปากแฉกหรือลักษณะปากจีบจะผ่าหัวเป็นสี่แฉกเวลาบิดจะต้องใช้แรงกดที่ด้ามมากกว่าไขควงธรรมดาเพื่อไม่ให้เหลี่ยมของไขควงหลุดจากร่อง
                 3. ไขควงหัวคลัตช์ (Clutch - Head Screwdriver) เป็นไขควงที่มีใช้เฉพาะกับตะปูค
                 4.ไขควงออฟเสท (Offset Screwdriver) ไขควงออฟเสทใช้งานที่อยู่ในที่แคบ ๆ ยากที่จะใช้ไขควงธรรมดาเข้าไปขันได้สามารถขันสกรูได้อย่างรวดเร็ว แต่ต้องระวังเพราะไขควงหลุดจาก ร่องสกรูได้ง่ายทําให้หัวสกรูเสีย




      คีม  

การใช้คีมด้วยความปลอดภัย ทำได้ดังนี้

    1.เลือกใช้คีมให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของคีมชนิดนั้นๆ เช่น คีมตัดไม่เหมาะกับการใช้จับ คีมตัดสายไฟฟ้าไม่เหมาะที่จะใช้ตัดแผ่นโลหะ เป็นต้น    2.ฟันที่ปากของคีมจับต้องไม่สึกหรอ ส่วนปากของคีมตัดต้องไม่ทื่อ    3.การจับคีม ควรให้ด้ามคีมอยู่ที่ปลายนิ้วทั้ง 4 แล้วใช้อุ้งมือและนิ้วหัวแม่มือกดด้ามคีมอีกด้าน จะทำให้มีกำลังในการจับหรือตัด    4.การปลอกสายไฟฟ้าควรใช้คีมปลอกสายไฟฟ้าโดยเฉพาะ เพราะจะมีขนาดของรูปเท่ากับขนาดของสายไฟฟ้าพอดี ส่วนการตัดสายไฟฟ้าหรือเส้นลวดที่ไม่ต้องการให้โผล่จากชิ้นงานควรใช้คีมตัดปากทแยง    5.ไม่ควรใช้คีมตัดโลหะที่มีขนาดใหญ่หรือแข็งเกินไป แต่ให้ใช้กรรไกรแทน    6.ไม่ควรใช้คีมขันหรือคลายหัวนอต เพราะจะทำให้หัวนอตชำรุด    7.ถ้าต้องจับชิ้นงานให้แน่นควรใช้คีมล็อก    8.ถ้าชิ้นงานมีขนาดใหญ่ ควรใช้คีมปากขยาย การใช้คีมที่ปากเล็กจะไม่มีกำลังที่จะจับชิ้นงานให้แน่น เพราะ ด้ามของคีมจะถ่างมากไป    9.ถ้าต้องการเก็บคีมไว้นาน ควรหยอดน้ำมันที่จุดหมุนของคีม และควรมีการหยอดน้ำมันเป็นระยะ   10.หลังจากเลิกใช้งานประจำวัน ควรเช็ดทำความสะอาด แล้วเก็บไว้ในที่ที่จัดเตรียมไว้หรือที่ปลอดภัย